กว่าจะมาเป็น CPR Recorder

AnnChar
3 min readOct 1, 2020
Staff members at Maimonides Medical Center in Brooklyn in 2010 trying to revive a patient who suffered a cardiac arrest. Credit: Ashley Gilbertson for The New York Times

Inspiration

แอปพลิเคชั่นเกิดจากการที่ตัวแอนเองอยากลองทำแอปเพื่อช่วยเหลือคนอื่นบ้างประกอบกับช่วงนั้นมีเวลาเลยได้คุยกับเพื่อนที่เป็นหมอว่าพอจะมีปัญหาอะไรที่เราพอจะสร้างแอปพลิเคชั่นไปช่วยได้ไหม คุยไปคุยมาปรากฎว่ามี ท้าวความก่อน ปกติในห้องฉุกเฉินหากมีคนไข้เกิดอาการโคม่าเข้ามาจนต้องใช้เครื่องกระตุกหัวใจ ทางการแพทย์เขาก็จะมีขั้นตอนที่ต้องทำตั้งแต่เริ่มจับเวลาที่คนไข้เข้ามาจะมีพยาบาลหรือผู้ช่วย 1–2 คนเป็นคนควบคุมเวลาและจดบันทึกลงกระดาษ มีแพทย์ประเมินอาการให้ยากระตุ้นหัวใจ ปั้มหัวใจ ทำจนกว่าคนไข้ชีพจรกลับมาเป็นปกติ จะเห็นได้ว่าทุกขั้นตอนที่กล่าวมานั้นมีหนึ่งตำแหน่งที่เราสามารถใช้แอปพลิเคชั่นช่วยได้นั่นคือตำแหน่งคนจับเวลาและบันทึกข้อมูลนั่นเอง

Team

ประกาศหากันอย่างง่ายดายผ่านช่องทาง Facebook นี่แหละจ้า ละใครจะไปรู้ มีคนสนใจอยากทำงานจิตอาสาแบบเราด้วย

และนี่คือโฉมหน้าผู้ร่วมชะตากรรมทั้งหมด

ได้มาครบทุกฝ่ายแล้ว ลงมือทำกันเลย

Timeline

สำหรับโปรเจ็คนี้ไม่ได้เร่งอะไรมากว่างก็ทำไปเรื่อยๆจ้า แต่ถ้าเป็นโปรเจ็คอื่นต้องวางแผนทุกอย่างตั้งแต่ตอนนี้เลย

ก่อนเริ่มขั้นตอนการพัฒนาอยากให้ทุกคนเข้าใจตรงกันก่อน คำว่า Userในที่นี้หมายถึงคุณหมอหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นคนใช้แอปพลิเคชั่นตัวนี้นั่นเอง

How to develop

  1. เก็บ Requirement

เป็นการเก็บ requirement ที่ user(ผู้ใช้งานอยากได้) ถามขั้นตอนการทำงานต่างๆ เพื่อนำมาแตกเป็นฟีเจอร์ อันไหน core ของแอปพลิเคชั่น เริ่มเรียงลำดับความสำคัญในการทำ

จากการเก็บ requirements พวกเราสรุปข้อมูลที่จะทำในเวอร์ชั่นแรกได้ว่า

CPR Recorder Icon

CPR Recorder คือ แอปพลิเคชั่นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ สำหรับการบันทึกข้อมูลการให้ยา การทำหัตถการต่างๆ ระหว่างการทำ CPR Algorithm ด้วยเวลา real-time อีกทั้งยังสามารถส่งไฟล์รูปภาพออกมาเพื่อทำการบันทึกในเครื่องได้อีกด้วย

Features
- การส่งสัญญาณให้จังหวะระหว่างการทำ CPR เพื่อให้ จังหวะการทำ CPR ที่ตรงมาตรฐาน
- การตั้งการแจ้งเตือน เพื่อการทำการประเมิน และการให้ยา
- สามารถ export ผลการบันทึกออกมาเป็นไฟล์รูปภาพได้
- สามารถเปิดดู Flow chart algorithm CPR ได้ภายในแอปพลิเคชั่น

พอได้ core หลักของแอปพลิเคชั่นแล้วก็ไปออกแบบกันเลย

2. ออกแบบ Wireframes

เป็นหน้าที่ของ Designer ในการนำ requirement ที่เก็บมานำมาสร้างเป็น Wireframes เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพตรงกัน จากนั้นนำไปทดสอบกับ user และทำการแก้ไข ถ้าหากทุกคนในทีมเห็นพ้องต้องกันแล้วจึงเริ่ม step ถัดไป

3. ออกแบบ UX/UI

Designer จะเริ่มใส่ details ของตัว UI ลงไปแต่ละหน้า และสร้าง demo เสมือนจริงขึ้นมา

CPR Recorder on Zeplin

4. ทดสอบกับ User

นำ demo ที่สร้างไว้มาทดสอบกับ user หากผ่านหรือแก้ไขหมดแล้วก็ไป step ถัดไปเลยจ้า

Demo on Figma

5. Develop

คราวนี้เป็นหน้าที่ Developer ที่จะรับไม้ต่อในการสร้างแอปพลิเคชั่นขึ้นมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริง เปรียบเสมือนพ่อมดแม่มดในโลกเวทมนต์นั่นเอง

CPR Rocorder on Android Studio

6. Testing

โดยปกติถ้าในทีมมี QA เราก็จะยกหน้าที่นี้ให้ QA ทำ แต่พอเป็นโปรเจ็คนี้เราไม่มี ทุกคนเลยต้องช่วยกันเทสจ้า พอแก้บัคครบแล้วก็เตรียม release ได้เลย

7. Launch

Launch ที่ไม่ได้แปลว่ากินข้าว แค่ออกเสียงคล้ายกันเฉยๆ อ้าวไปไกล กลับมาๆ 555 ง่ายๆเลยเมื่อทำแอปพลิเคชั่นเสร็จแล้วก็ upload application ไปที่ Google Play Store สิรออะไรอยู่เล่า

เข้าไปโหลดกันได้ที่นี่นะ

8. Maintenance

เป็นงานของฝั่ง Developer ที่ต้องคอยเช็ค bug ผ่านตัว Firebase Crashlytics และต้องคอย update libraries ให้เป็นตัวใหม่อยู่เสมอ ทั้งนี้อาจทำการ refactor code เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆในอนาคต

จบไปแล้วกับแอปพลิเคชั่น CPR Recorder ขอบคุณทีมงานจิตอาสาทุกคนมากๆค่าที่เสียสละเวลามาช่วยกันพัฒนา

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำ project นี้

  1. ได้ใช้สกิล Project Management กับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นตั้งแต่ต้น เก็บ requirement เองไปพัฒนาจนไปถึง launch product
  2. ทักษะ Communication เพราะเราต้องสื่อสารหลายๆฝ่ายตั้งแต่ user ยันคนในทีมที่มีความรู้หลากหลาย
  3. ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยได้ทำ ฝั่ง Developer เช่นปกติเวลาเราทำงานบริษัทเราอาจจะไม่ได้เป็นคน upload แอปพลิเคชั่นเข้า store เอง แต่เป็น project นี้เราต้องเป็นคนทำเอง หรือ เราต้องขึ้นโครงโปรเจ็คเองทั้งหมด นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้ลอง

ถ้ามีไอเดียก็ลงมือทำเลยอย่าไปคิดมาก…

สุดท้ายอย่าเป็นคนไข้มาใช้แอปพลิเคชั่นนี้เลยเน้อ ด้วยรักและเป็นห่วง ❤️❤️❤️

--

--